ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจำลองบอร์ด MCU เป็นอุปกรณ์ USB"

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
 
(ไม่แสดง 15 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 6: แถว 6:
  
 
นอกเหนือจาก custom class device แล้ว ไลบรารี V-USB ยังรองรับการโปรแกรมเฟิร์มแวร์ให้สังกัดคลาสอื่นได้อีกหลายคลาส อาทิเช่น HID (Human Interface Device) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับอุปกรณ์จำพวกแป้นพิมพ์ เมาส์ จอยสติ๊ก และเกมแพด
 
นอกเหนือจาก custom class device แล้ว ไลบรารี V-USB ยังรองรับการโปรแกรมเฟิร์มแวร์ให้สังกัดคลาสอื่นได้อีกหลายคลาส อาทิเช่น HID (Human Interface Device) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับอุปกรณ์จำพวกแป้นพิมพ์ เมาส์ จอยสติ๊ก และเกมแพด
 +
 +
==ไลบรารีและเครื่องมือที่จำเป็น==
 +
ให้แน่ใจว่าได้ติดตั้งไลบรารีและเครื่องมือที่จำเป็นตามที่ได้อธิบายไว้ในวิกิด้านล่าง ก่อนเริ่มทำตามขั้นตอนในวิกินี้
 +
* [[การติดตั้งไลบรารี PyUSB]]
  
 
== ขั้นตอนการใช้งานไลบรารี V-USB ==
 
== ขั้นตอนการใช้งานไลบรารี V-USB ==
แถว 78: แถว 82:
 
ในสถาปัตยกรรม USB นั้นการสื่อสารจะถูกเริ่มจากการที่ฝั่งคอมพิวเตอร์ (ฝั่งโฮสท์) ส่งคำร้องขอ (USB Request) ไปยังฝั่งอุปกรณ์ USB เสมอไม่ว่าจะมีการอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์ USB หรือเขียนข้อมูลไปยังอุปกรณ์ USB ก็ตาม ข้อมูลคำร้องขอมีโครงสร้างตามที่นิยามไว้ในไฟล์ <code>usbdrv/usbdrv.h</code> ดังนี้
 
ในสถาปัตยกรรม USB นั้นการสื่อสารจะถูกเริ่มจากการที่ฝั่งคอมพิวเตอร์ (ฝั่งโฮสท์) ส่งคำร้องขอ (USB Request) ไปยังฝั่งอุปกรณ์ USB เสมอไม่ว่าจะมีการอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์ USB หรือเขียนข้อมูลไปยังอุปกรณ์ USB ก็ตาม ข้อมูลคำร้องขอมีโครงสร้างตามที่นิยามไว้ในไฟล์ <code>usbdrv/usbdrv.h</code> ดังนี้
 
  typedef struct usbRequest{
 
  typedef struct usbRequest{
     uchar      bmRequestType;  /* 1 ไบท์ */
+
     uchar      bmRequestType;  /* 1 ไบต์ */
     uchar      bRequest;      /* 1 ไบท์ */
+
     uchar      bRequest;      /* 1 ไบต์ */
     usbWord_t  wValue;        /* 2 ไบท์ */
+
     usbWord_t  wValue;        /* 2 ไบต์ */
     usbWord_t  wIndex;        /* 2 ไบท์ */
+
     usbWord_t  wIndex;        /* 2 ไบต์ */
     usbWord_t  wLength;        /* 2 ไบท์ */
+
     usbWord_t  wLength;        /* 2 ไบต์ */
 
  }usbRequest_t;
 
  }usbRequest_t;
 
* <code>bmRequestType</code> ประกอบด้วยฟิลด์ย่อย 3 ฟิลด์ดังต่อไปนี้
 
* <code>bmRequestType</code> ประกอบด้วยฟิลด์ย่อย 3 ฟิลด์ดังต่อไปนี้
แถว 99: แถว 103:
 
::* 3 = Other
 
::* 3 = Other
 
* <code>bRequest</code> ระบุหมายเลขคำร้องขอ คำร้องขอตามมาตรฐานของ USB นั้นมีประเภทเป็น Standard ซึ่งจะถูกประมวลผลจากไลบรารี V-USB อัตโนมัติ เราจึงไม่ต้องสนใจในส่วนนี้ ส่วนที่เราต้องรับผิดชอบคือคำร้องขอแบบ Vendor ซึ่งต้องถูกออกแบบไว้ล่วงหน้าแล้วว่าอุปกรณ์ USB ของเราจะรองรับคำร้องขอหมายเลขอะไรบ้าง โดยในฟังก์ชัน <code>usbFunctionSetup</code> ของเราต้องประมวลผลคำร้องขอเหล่านี้ได้ถูกต้อง
 
* <code>bRequest</code> ระบุหมายเลขคำร้องขอ คำร้องขอตามมาตรฐานของ USB นั้นมีประเภทเป็น Standard ซึ่งจะถูกประมวลผลจากไลบรารี V-USB อัตโนมัติ เราจึงไม่ต้องสนใจในส่วนนี้ ส่วนที่เราต้องรับผิดชอบคือคำร้องขอแบบ Vendor ซึ่งต้องถูกออกแบบไว้ล่วงหน้าแล้วว่าอุปกรณ์ USB ของเราจะรองรับคำร้องขอหมายเลขอะไรบ้าง โดยในฟังก์ชัน <code>usbFunctionSetup</code> ของเราต้องประมวลผลคำร้องขอเหล่านี้ได้ถูกต้อง
* <code>wValue</code> และ <code>wIndex</code> ทั้งคู่เป็นฟิลด์ที่ไม่มีความหมายใดในกรณีที่คำร้องขอเป็นแบบ Vendor ดังนั้นเราจึงมีอิสระเต็มที่ในการใช้งานฟิลด์ทั้งคู่นี้เป็นตัวส่งรายละเอียดของคำร้องขอ ซึ่งส่งได้สูงสุด 4 ไบท์
+
* <code>wValue</code> และ <code>wIndex</code> ทั้งคู่เป็นฟิลด์ที่ไม่มีความหมายใดในกรณีที่คำร้องขอเป็นแบบ Vendor ดังนั้นเราจึงมีอิสระเต็มที่ในการใช้งานฟิลด์ทั้งคู่นี้เป็นตัวส่งรายละเอียดของคำร้องขอ ซึ่งส่งได้สูงสุด 4 ไบต์
 
* <code>wLength</code> กำหนดขนาดของข้อมูลเพิ่มเติมที่จะส่งจากฝั่งโฮสท์หรือจากอุปกรณ์ USB หากไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม ค่านี้จะถูกเซ็ตเป็นศูนย์
 
* <code>wLength</code> กำหนดขนาดของข้อมูลเพิ่มเติมที่จะส่งจากฝั่งโฮสท์หรือจากอุปกรณ์ USB หากไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม ค่านี้จะถูกเซ็ตเป็นศูนย์
  
แถว 106: แถว 110:
 
== ตัวอย่างโปรแกรม ==
 
== ตัวอย่างโปรแกรม ==
  
:โหลดไฟล์ [http://www.cpe.ku.ac.th/~cpj/204223/usb-example.tgz usb-example.tgz] ซึ่งเก็บไฟล์ทั้งหมดที่ใช้ในตัวอย่างนี้  
+
:โหลดไฟล์ [http://www.cpe.ku.ac.th/~cpj/204223/usb-example.zip usb-example.zip] ซึ่งเก็บไฟล์ทั้งหมดที่ใช้ในตัวอย่างนี้ (กรณีที่ต้องการใช้งานผ่าน Arduino IDE ให้ดาวน์โหลดไฟล์ [http://www.cpe.ku.ac.th/~cpj/204223/usb-example-arduino.zip usb-example-arduino.zip])
  
 
เพื่อให้เห็นภาพของการใช้งานไลบรารี V-USB มากขึ้น เราลองสร้างตัวอย่างเฟิร์มแวร์อย่างง่ายขึ้นมาพร้อมทั้งใช้ภาษาไพธอนทดลองสั่งงานจากฝั่งคอมพิวเตอร์ ในที่นี้เราจะให้ตัวเฟิร์มแวร์จำลองตัวเป็นอุปกรณ์ USB ที่รองรับการสั่งงานจากโฮสท์ 2 คำร้องขอ ดังนี้
 
เพื่อให้เห็นภาพของการใช้งานไลบรารี V-USB มากขึ้น เราลองสร้างตัวอย่างเฟิร์มแวร์อย่างง่ายขึ้นมาพร้อมทั้งใช้ภาษาไพธอนทดลองสั่งงานจากฝั่งคอมพิวเตอร์ ในที่นี้เราจะให้ตัวเฟิร์มแวร์จำลองตัวเป็นอุปกรณ์ USB ที่รองรับการสั่งงานจากโฮสท์ 2 คำร้องขอ ดังนี้
แถว 130: แถว 134:
 
  #define USB_CFG_VENDOR_NAME_LEN 12
 
  #define USB_CFG_VENDOR_NAME_LEN 12
  
* '''Device Name:''' กำหนดค่า USB Device Name ให้เป็น ''Practicum Group <หมายเลขกลุ่ม>'' โดยเปลี่ยนนิยามของมาโคร <code>USB_CFG_DEVICE_NAME</code> และ <code>USB_CFG_DEVICE_NAME_LEN</code> ตัวอย่างเช่น กลุ่ม 99 ให้แก้ไขมาโครดังนี้
+
* '''Device Name:''' กำหนดค่า USB Device Name ให้เป็น ''ID <รหัสนิสิต>'' โดยเปลี่ยนนิยามของมาโคร <code>USB_CFG_DEVICE_NAME</code> และ <code>USB_CFG_DEVICE_NAME_LEN</code> ตัวอย่างเช่นนิสิตที่มีรหัสประจำตัว 1234567890 ให้แก้ไขมาโครดังนี้
  #define USB_CFG_DEVICE_NAME    'P','r','a','c','t','i','c','u','m',' ','G','r','o','u','p',' ','9','9'
+
  #define USB_CFG_DEVICE_NAME    'I','D',' ','1','2','3','4','5','6','7','8','9','0'
  #define USB_CFG_DEVICE_NAME_LEN 18
+
  #define USB_CFG_DEVICE_NAME_LEN 13
  
===โปรแกรมฝั่งเฟิร์มแวร์===
+
=== เฟิร์มแวร์ฝั่งอุปกรณ์ ===
 
* เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการเขียนโปรแกรม เราจะนิยามคำร้องขอเหล่านี้ไว้ที่ส่วนหัวของ <code>main.c</code> ดังนี้
 
* เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการเขียนโปรแกรม เราจะนิยามคำร้องขอเหล่านี้ไว้ที่ส่วนหัวของ <code>main.c</code> ดังนี้
  #define RQ_SET_LED   0
+
  #define RQ_SET_LED         0
  #define RQ_GET_SWITCH 1
+
#define RQ_SET_LED_VALUE  1
 +
  #define RQ_GET_SWITCH     2
 +
#define RQ_GET_LIGHT      3
  
 
* ภายในฟังก์ชัน <code>usbFunctionSetup</code> สร้างโค้ดสำหรับประมวลผลคำร้องขอที่รับมาจากโฮสท์ดังนี้
 
* ภายในฟังก์ชัน <code>usbFunctionSetup</code> สร้างโค้ดสำหรับประมวลผลคำร้องขอที่รับมาจากโฮสท์ดังนี้
แถว 143: แถว 149:
 
  usbMsgLen_t usbFunctionSetup(uint8_t data[8])
 
  usbMsgLen_t usbFunctionSetup(uint8_t data[8])
 
  {
 
  {
     usbRequest_t *rq = (void *)data;
+
     usbRequest_t *rq = (usbRequest_t*)data;
 
     static uint8_t switch_state;  /* เป็น static เพื่อค่าในตัวแปรคงอยู่แม้ฟังก์ชัน return ไปแล้ว */
 
     static uint8_t switch_state;  /* เป็น static เพื่อค่าในตัวแปรคงอยู่แม้ฟังก์ชัน return ไปแล้ว */
 
   
 
   
แถว 180: แถว 186:
 
  make flash
 
  make flash
  
=== โปรแกรมฝั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ ===
+
=== แอพลิเคชันฝั่งโฮสท์ ===
 
 
* (สำหรับ Ubuntu Linux) ติดตั้ง PyUSB เพื่อติดต่อกับอุปกรณ์ USB ผ่านภาษาไพธอน
 
sudo apt-get install python-usb
 
 
 
* (สำหรับ MacOS X) ดาวน์โหลดซอร์สโค้ดของไลบรารี libusb จาก[http://sourceforge.net/projects/libusb/files/libusb-1.0/ ที่นี่] จากนั้นแตกไฟล์ออกและใช้คำสั่ง cd เข้าไปในไดเรคตอรี่ที่เก็บไฟล์ จึงคอมไพล์และติดตั้งโดยใช้คำสั่งต่อไปนี้
 
./configure
 
make
 
sudo make install
 
  
:จากนั้นโหลดซอร์สโค้ดของ PyUSB จาก[http://sourceforge.net/projects/pyusb/ ที่นี่] แตกไฟล์และติดตั้งโดยใช้คำสั่ง
+
ขณะที่เฟิร์มแวร์ทำงานอยู่นั้นเราจะมองไม่เห็นผลลัพธ์การทำงานใด ๆ เนื่องจากเฟิร์มแวร์ถูกเขียนไว้ให้ตอบสนองต่อการสั่งงานผ่านคอมพิวเตอร์เท่านั้น ภายในไฟล์ตัวอย่างมีไฟล์ชื่อ <tt>practicum.py</tt> ซึ่งเป็นโมดูลไพทอนที่เราจะนำมาใช้ติดต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ผ่านภาษาไพทอน ทดลองเปิดไพทอนเชลล์แล้วโหลดโมดูลมาใช้งาน โดยฟังก์ชันหลักที่เรียกใช้จากโมดูลคือ <tt>find_mcu_boards()</tt> ซึ่งคืนค่าเป็นลิสต์ของอุปกรณ์ USB ทุกตัวที่มี VID/PID เป็น 16c0:05dc ที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ ณ ขณะนั้น
sudo python setup.py install
 
  
* ติดต่อกับบอร์ด MCU ผ่านทางไพธอนเชลล์ โดยเรียกใช้คลาส <code>McuBoard</code> จากมอดูล <code>practicum.py</code> ในไฟตัวอย่าง
+
$ python
  >>> from practicum import McuBoard
+
  >>> from practicum import find_mcu_boards,McuBoard
  >>> b = McuBoard()
+
  >>> devices = find_mcu_boards()
:<span style="color:red;">'''หมายเหตุ:''' หากพบปัญหาเกี่ยวกับสิทธิการเข้าถึงอุปกรณ์ USB ให้ดำเนินตามขั้นตอนที่อธิบายไว้ในเอกสาร [[การแก้ไขสิทธิการเข้าถึงพอร์ท USB ของบอร์ด MCU]]</span>
+
>>> devices
 +
[<usb.Device object at 0xd91d70>]
  
:'''หมายเหตุ 2:''' หากเปิดโค้ด <code>practicum.py</code> ดูในเมท็อต <code>__init__</code> ของคลาส McuBoard จะเห็นว่าการค้นหาบอร์ด MCU ของเรานั้นอาศัยค่า VID และ PID ที่ตั้งไว้แต่แรกดังนี้
+
จากนั้นสร้างอ็อบเจกต์ของคลาส <tt>McuBoard</tt> ขึ้นมาจากอุปกรณ์ตัวแรกในลิสต์
  
  def __init__(self):
+
  >>> mcu = McuBoard(devices[0])
    for bus in usb.busses():
+
>>> mcu.handle.getString(mcu.device.iManufacturer, 256)
        for dev in bus.devices:
+
'cpe.ku.ac.th'
            if (dev.idVendor,dev.idProduct) == (0x16c0,0x05dc):
+
>>> mcu.handle.getString(mcu.device.iProduct, 256)
                self.handle = dev.open()
+
'ID 1234567890'  <- ต้องขึ้นเป็นรหัสนิสิตของตน
                return
 
    raise "MCU board not found!"
 
  
:ดังนั้นอาจเกิดปัญหาขึ้นหากมีการเสียบบอร์ด MCU มากกว่าหนึ่งบอร์ดเข้ากับคอมพิวเตอร์เพราะ <code>__init__</code> จะจบการทำงานเมื่อพบว่ามี VID:PID เป็น 16c0:05dc เป็นตัวแรกเสมอ อย่างไรก็ตาม หากต้องการระบุเอาอุปกรณ์ตัวที่ระบุก็สามารถอาศัยข้อมูลจาก vendor name หรือ device name มากำหนดเงื่อนไขเพิ่มได้
+
ทดลองส่งคำร้องขอหมายเลข 0 (ควบคุมสถานะ LED) เพื่อให้ LED หมายเลข 2 บนบอร์ดพ่วงติดสว่าง ใช้เมท็อต <code>usb_write</code> ในคลาส <code>McuBoard</code> ดังนี้
  
* ทดลองส่งคำร้องขอหมายเลข 0 (ควบคุมสถานะ LED) โดยให้ LED หมายเลข 2 บนบอร์ดพ่วงติดสว่าง โดยใช้เมท็อต <code>usb_write</code> ในคลาส <code>McuBoard</code> ดังนี้
+
>>> mcu.usb_write(0, index=2, value=1)
  
  >>> b.usb_write(0, index=2, value=1)
+
คำสั่งด้านล่างมีผลทำให้ LED หมายเลข 2 ดับ และ LED หมายเลข 1 ติดขึ้นมาแทน
 +
  >>> mcu.usb_write(0, index=2, value=0)
 +
>>> mcu.usb_write(0, index=1, value=1)
  
* คำสั่งด้านล่างมีผลทำให้ LED หมายเลข 2 ดับ และ LED หมายเลข 1 ติดขึ้นมาแทน
+
ทดลองอ่านสถานะของสวิตช์โดยส่งคำร้องหมายเลข 2 ไปยังบอร์ด MCU
  >>> b.usb_write(0, index=2, value=0)
+
  >>> mcu.usb_read(2, length=1)
  >>> b.usb_write(0, index=1, value=1)
+
  array('B', [0])
 +
ค่าที่เมทอด <code>usb_read</code> คืนกลับมาจะเป็นทูเปิลที่มีสมาชิกหนึ่งตัว ตามที่ระบุในเฟิร์มแวร์
  
* ทดลองอ่านสถานะของสวิตช์โดยส่งคำร้องหมายเลข 1 ไปยังบอร์ด MCU
+
ทดลองกดสวิตช์บนบอร์ดพ่วงค้างไว้ แล้วส่งคำร้องไปยังบอร์ด MCU ใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้ควรเป็นดังนี้
  >>> b.usb_read(1, length=1)
+
  >>> mcu.usb_read(2, length=1)
  (0,)
+
  array('B', [1])
:* ค่าที่เมทอด <code>usb_read</code> คืนกลับมาจะเป็น tuple ความยาวหนึ่ง ตามที่ระบุในโปรแกรมฝั่งไมโครคอนโทรลเลอร์
 
  
* ทดลองกดสวิตช์บนบอร์ดพ่วงค้างไว้ แล้วส่งคำร้องไปยังบอร์ด MCU ใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้ควรเป็นดังนี้
+
ใช้คำสั่ง <tt>help</tt> เพื่อดูรายละเอียดการใช้งานคลาส <tt>McuBoard</tt>
  >>> b.usb_read(1, length=1)
+
  >>> help(McuBoard)
(1,)
 
  
 
== เกี่ยวกับหมายเลข VID/PID ==
 
== เกี่ยวกับหมายเลข VID/PID ==
ชุดตัวเลข VID/PID ที่กำหนดให้กับอุปกรณ์ USB ไม่ควรตั้งเอาเองตามใจชอบเนื่องจากระบบปฏิบัติการจะอาศัยตัวเลขคู่นี้ในการเลือกซอฟต์แวร์ไดรเวอร์ที่จะมาควบคุมอุปกรณ์ USB
+
ชุดตัวเลข VID/PID ที่กำหนดให้กับอุปกรณ์ USB ไม่ควรตั้งเอาเองตามใจชอบเนื่องจากระบบปฏิบัติการจะอาศัยตัวเลขคู่นี้ในการเลือกซอฟต์แวร์ไดรเวอร์ที่จะมาควบคุมอุปกรณ์ โดยทั่วไปการจะได้มาซึ่งเลข VID/PID เพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่เราสร้างขึ้นจำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกของ [http://www.usb.org USB Implementers Forum] (ค่าสมาชิกปีละ 4,000 เหรียญสหรัฐ) หรือซื้อตัวเลข VID มาจากผู้ที่เป็นสมาชิกอีกทีหนึ่ง
  
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดค่า VID และ PID ให้กับอุปกรณ์ USB รวมถึงหลักเกณฑ์การปฏิบัติในการผลิตอุปกรณ์ USB สู่สาธารณะ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาในไฟล์ <code>vusb-20120109/USB-ID-FAQ.txt</code> และไฟล์ <code>vusb-20120109/USB-IDs-for-free.txt</code> ที่แจกจ่ายมากับไฟล์ <code>vusb-20120109.tar.gz</code> และเอกสาร [http://www.voti.nl/docs/usb-pid.html How to obtain an USB VID/PID for your project]
+
อย่างไรก็ตาม Object Development ผู้พัฒนาไลบรารี V-USB ได้เตรียมชุดตัวเลข VID/PID ไว้ให้เราใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หมายเลข <tt>16C0:xxxx</tt> ที่เราเลือกนำมาใช้งานก็ได้มาจากตัวเลขในชุดดังกล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดค่า VID และ PID ให้กับอุปกรณ์ USB รวมถึงหลักเกณฑ์การปฏิบัติในการผลิตอุปกรณ์ USB สู่สาธารณะ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาในไฟล์ <tt>USB-ID-FAQ.txt</tt> และไฟล์ <tt>USB-IDs-for-free.txt</tt> ในไดเรคตอรี <tt>usbdrv</tt> ที่ได้จากการติดตั้งไลบรารี V-USB รวมถึงเอกสาร [http://www.voti.nl/docs/usb-pid.html How to obtain an USB VID/PID for your project]
  
 
== ข้อมูลเพิ่มเติม ==
 
== ข้อมูลเพิ่มเติม ==
 
* [http://vusb.wikidot.com/ V-USB Documentation Wiki]
 
* [http://vusb.wikidot.com/ V-USB Documentation Wiki]
 
* [http://www.beyondlogic.org/usbnutshell/usb1.htm USB in a NutShell]
 
* [http://www.beyondlogic.org/usbnutshell/usb1.htm USB in a NutShell]
 +
* [http://usb4java.org/ usb4java] - ไลบรารีภาษาจาวาสำหรับติดต่อกับอุปกรณ์ USB

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:09, 3 พฤษภาคม 2562

วิกินี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 01204223

ที่ผ่านมานั้นเราใช้พอร์ท USB เป็นเพียงแหล่งจ่ายพลังงานและโปรแกรมแฟลชเท่านั้น วิกินี้อธิบายถึงขั้นตอนการทำให้ไมโครคอนโทรลเลอร์จำลองตัวเองเป็นอุปกรณ์ USB ความเร็วต่ำ เพื่อที่จะสามารถสื่อสารกับโปรแกรมที่ทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

ในที่นี้เราจะใช้โอเพนซอร์สไลบรารีชื่อ V-USB (เดิมเรียกว่า AVR-USB) ที่พัฒนาโดยบริษัท Objective Development โดยทำให้บอร์ด MCU ของเราทำงานเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในกลุ่ม custom class device ซึ่งจัดเป็นอุปกรณ์ USB ที่ไม่สังกัดคลาสใด โดยซอฟต์แวร์ฝั่งคอมพิวเตอร์จะอยู่ภายใต้ความควบคุมของเราทั้งหมด

นอกเหนือจาก custom class device แล้ว ไลบรารี V-USB ยังรองรับการโปรแกรมเฟิร์มแวร์ให้สังกัดคลาสอื่นได้อีกหลายคลาส อาทิเช่น HID (Human Interface Device) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับอุปกรณ์จำพวกแป้นพิมพ์ เมาส์ จอยสติ๊ก และเกมแพด

ไลบรารีและเครื่องมือที่จำเป็น

ให้แน่ใจว่าได้ติดตั้งไลบรารีและเครื่องมือที่จำเป็นตามที่ได้อธิบายไว้ในวิกิด้านล่าง ก่อนเริ่มทำตามขั้นตอนในวิกินี้

ขั้นตอนการใช้งานไลบรารี V-USB

  • ดาวน์โหลดซอร์สโค้ดจาก Objective Development
  • แตกไฟล์ .tar.gz ที่ดาวน์โหลดมาโดยใช้คำสั่ง
tar zxf vusb-20121206.tar.gz
  • คัดลอกไดเรคตอรี usbdrv/ ที่อยู่ในไดเรคตอรี vusb-20121206/ ไปวางในไดเรคตอรีโปรเจ็คของตน
  • ภายในไดเรคตอรีโปรเจ็คของตนเอง ย้ายไฟล์ usbdrv/usbconfig-prototype.h มาวางไว้ด้านนอก และเปลี่ยนชื่อให้เป็น usbconfig.h
mv usbdrv/usbconfig-prototype.h ./usbconfig.h
ไฟล์นี้จะเก็บข้อมูลการตั้งค่าเกี่ยวกับอุปกรณ์ USB ที่จะให้ไมโครคอนโทรลเลอร์จำลองตัวเองขึ้นมา
  • ในไฟล์หลักของโปรเจ็ค เรียกใช้คำสั่ง #include ต่อไปนี้ไว้ที่ตอนต้นของโปรแกรม
#include <avr/io.h>
#include <avr/interrupt.h>  /* for sei() */
#include <util/delay.h>     /* for _delay_ms() */
#include <avr/pgmspace.h>   /* required by usbdrv.h */
#include "usbdrv.h"
  • ในส่วนของฟังก์ชัน main() ต้องมีโครงสร้างหลักดังนี้ (สามารถใส่โค้ดอื่นเพิ่มได้ตามที่ต้องการ)
int main()
{
    usbInit();
    usbDeviceDisconnect();
    _delay_ms(300);     /* fake USB disconnect for > 250 ms */
    usbDeviceConnect();
    sei();              /* enable interrupts */
    while (1)           /* main event loop */
    {                
        usbPoll();      /* คำสั่งนี้ต้องถูกเรียกอย่างน้อยที่สุดทุก ๆ 50ms */
    }
    return 0;
}
  • นิยามฟังก์ชัน usbFunctionSetup เพื่อประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ท USB
usbMsgLen_t usbFunctionSetup(uint8_t data[8])
{
    ;
}
ฟังก์ชันนี้จะถูกเรียกทำงานโดยอัตโนมัติจากฟังก์ชัน usbPoll เมื่อทางฝั่งคอมพิวเตอร์ส่งคำร้องขอผ่านมาทางพอร์ท USB หัวข้อ #ตัวอย่างโปรแกรม แสดงตัวอย่างการการเขียนฟังก์ชันนี้เอาไว้

การคอมไพล์และลิ้งค์โปรแกรมรวมกับ V-USB

สร้าง Makefile ต่อไปนี้เพื่อคอมไพล์โปรแกรมและดำเนินการลิ้งค์เข้ากับไลบรารี V-USB ซึ่งตัวอย่าง Makefile นี้สมมติว่าไฟล์หลักของโปรเจ็คคือ main.c

MCU=atmega168
F_CPU=16000000L
TARGET=main.hex
OBJS=usbdrv/usbdrv.o usbdrv/usbdrvasm.o
CFLAGS=-Wall -Os -DF_CPU=$(F_CPU) -Iusbdrv -I. -mmcu=$(MCU)

all: $(TARGET)

flash: $(TARGET)
    avrdude -p $(MCU) -c usbasp -U flash:w:$(TARGET)

%.hex: %.elf
    avr-objcopy -j .text -j .data -O ihex $< $@

%.elf: %.o $(OBJS)
    avr-gcc $(CFLAGS) -o $@ $?

%.o: %.c
    avr-gcc -c $(CFLAGS) -o $@ $<

%.o: %.S
    avr-gcc $(CFLAGS) -x assembler-with-cpp -c -o $@ $<

clean:
    rm -f $(OBJS)
    rm -f $(TARGET)
    rm -f *~

หากดูในกฎที่ระบุกลไกการสร้างไฟล์ main.elf ขึ้นมาจาก main.o จะเห็นว่าบรรทัดที่มีการเรียกใช้ avr-gcc ได้มีการนำเอา $(OBJS) (ซึ่งได้แก่ไฟล์ usbdrv/usbdrv.o และ usbdrv/usbdrvasm.o) ลิ้งค์รวมเข้าไปด้วย ในที่นี้ตัวแปรพิเศษ $@ แทน target ซึ่งหมายถึง main.elf ส่วนตัวแปรพิเศษ $? แทนรายการของ dependency ทั้งหมด นั่นคือไฟล์ main.elf นั้นถูกสร้างขึ้นโดยการที่ make เรียกคำสั่งด้านล่างนี้อัตโนมัติ

avr-gcc -Wall -Os -DF_CPU=16000000L -Iusbdrv -I. -mmcu=atmega168 -o main.elf main.o usbdrv/usbdrv.o usbdrv/usbdrvasm.o

โครงสร้างของคำร้องขอ USB ที่รับจากฝั่งคอมพิวเตอร์

ในสถาปัตยกรรม USB นั้นการสื่อสารจะถูกเริ่มจากการที่ฝั่งคอมพิวเตอร์ (ฝั่งโฮสท์) ส่งคำร้องขอ (USB Request) ไปยังฝั่งอุปกรณ์ USB เสมอไม่ว่าจะมีการอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์ USB หรือเขียนข้อมูลไปยังอุปกรณ์ USB ก็ตาม ข้อมูลคำร้องขอมีโครงสร้างตามที่นิยามไว้ในไฟล์ usbdrv/usbdrv.h ดังนี้

typedef struct usbRequest{
    uchar       bmRequestType;  /* 1 ไบต์ */
    uchar       bRequest;       /* 1 ไบต์ */
    usbWord_t   wValue;         /* 2 ไบต์ */
    usbWord_t   wIndex;         /* 2 ไบต์ */
    usbWord_t   wLength;        /* 2 ไบต์ */
}usbRequest_t;
  • bmRequestType ประกอบด้วยฟิลด์ย่อย 3 ฟิลด์ดังต่อไปนี้
  • บิต 7 ทิศทางการส่งข้อมูล (Data Phase Transfer Direction)
  • 0 = จากคอมพิวเตอร์ไปอุปกรณ์ USB (Host to Device)
  • 1 = จากอุปกรณ์ USB มายังคอมพิวเตอร์ (Device to Host)
  • บิต 6..5 ประเภทคำร้องขอ (Type)
  • 0 = Standard
  • 1 = Class
  • 2 = Vendor
ฟังก์ชัน usbFunctionSetup ที่เราต้องเขียนขึ้นนั้นจะถูกเรียกใช้เมื่อค่าในฟิลด์ Type นี้มีค่า 2 (Vendor) เท่านั้น
  • บิต 4..0 ผู้รับ (Recipient)
  • 0 = Device
  • 1 = Interface
  • 2 = Endpoint
  • 3 = Other
  • bRequest ระบุหมายเลขคำร้องขอ คำร้องขอตามมาตรฐานของ USB นั้นมีประเภทเป็น Standard ซึ่งจะถูกประมวลผลจากไลบรารี V-USB อัตโนมัติ เราจึงไม่ต้องสนใจในส่วนนี้ ส่วนที่เราต้องรับผิดชอบคือคำร้องขอแบบ Vendor ซึ่งต้องถูกออกแบบไว้ล่วงหน้าแล้วว่าอุปกรณ์ USB ของเราจะรองรับคำร้องขอหมายเลขอะไรบ้าง โดยในฟังก์ชัน usbFunctionSetup ของเราต้องประมวลผลคำร้องขอเหล่านี้ได้ถูกต้อง
  • wValue และ wIndex ทั้งคู่เป็นฟิลด์ที่ไม่มีความหมายใดในกรณีที่คำร้องขอเป็นแบบ Vendor ดังนั้นเราจึงมีอิสระเต็มที่ในการใช้งานฟิลด์ทั้งคู่นี้เป็นตัวส่งรายละเอียดของคำร้องขอ ซึ่งส่งได้สูงสุด 4 ไบต์
  • wLength กำหนดขนาดของข้อมูลเพิ่มเติมที่จะส่งจากฝั่งโฮสท์หรือจากอุปกรณ์ USB หากไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม ค่านี้จะถูกเซ็ตเป็นศูนย์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก USB in a NutShell

ตัวอย่างโปรแกรม

โหลดไฟล์ usb-example.zip ซึ่งเก็บไฟล์ทั้งหมดที่ใช้ในตัวอย่างนี้ (กรณีที่ต้องการใช้งานผ่าน Arduino IDE ให้ดาวน์โหลดไฟล์ usb-example-arduino.zip)

เพื่อให้เห็นภาพของการใช้งานไลบรารี V-USB มากขึ้น เราลองสร้างตัวอย่างเฟิร์มแวร์อย่างง่ายขึ้นมาพร้อมทั้งใช้ภาษาไพธอนทดลองสั่งงานจากฝั่งคอมพิวเตอร์ ในที่นี้เราจะให้ตัวเฟิร์มแวร์จำลองตัวเป็นอุปกรณ์ USB ที่รองรับการสั่งงานจากโฮสท์ 2 คำร้องขอ ดังนี้

  • คำร้องขอ SET_LED สั่งให้ LED ดวงที่ระบุติดหรือดับ มีรายละเอียดของคำร้องขอดังนี้
  • กำหนดให้หมายเลขคำร้องขอ (request number) คือ 0
  • ส่งรายละเอียดมาให้ 2 ไบท์ ไบท์แรกระบุตำแหน่งของ LED บนบอร์ดพ่วง (0, 1 หรือ 2) ส่วนไบท์ที่สองระบุว่าจะให้ LED ดวงดังกล่าวติดหากมีค่า 0 หรือดับหากมีค่าอื่นที่ไม่ใช่ศูนย์ เนื่องจากข้อมูลมีขนาดเพียงสองไบท์ เราจะใส่ข้อมูลนี้ลงไปในฟิลด์ wValue ที่ถูกส่งไปพร้อมกับคำร้องขอโดยตรง
  • แม้ไม่มีข้อมูลอื่นเพิ่มเติมส่งจากคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์ USB แต่เราจะระบุทิศทางการไหลของข้อมูลไว้เป็น Host to Device
  • คำร้องขอ GET_SWITCH สั่งให้บอร์ด MCU รายงานสถานะการกดปุ่มสวิตช์กลับมา มีรายละเอียดของคำร้องขอดังนี้
  • กำหนดให้หมายเลขคำร้องขอ (request number) คือ 1
  • ทิศทางการไหลของข้อมูลเป็น Device to Host
  • รับข้อมูลกลับมา 1 ไบท์ บอกสถานะของสวิตช์ (0 คือไม่ถูกกด 1 คือถูกกด)

การตั้งค่าให้อุปกรณ์ USB

เปิดไฟล์ usbconfig.h เพื่อปรับค่าให้สอดคล้องกับโปรเจ็ค

  • VID/PID: อุปกรณ์ USB ทุกตัวจะต้องถูกกำหนดค่า Vendor ID (VID) และ Product ID (PID) ให้ ซึ่งแต่ละตัวเลขมีขนาด 16 บิต ในโปรเจ็คนี้ให้กำหนดค่า VID และ PID ให้เป็น 0x16c0 และ 0x05dc ตามลำดับ โดยดูให้แน่ใจว่าในไฟล์ usbconfig.h มีบรรทัดเหล่านี้
#define USB_CFG_VENDOR_ID   0xc0, 0x16    /* VID = 0x16c0 */
  :
#define USB_CFG_DEVICE_ID   0xdc, 0x05    /* PID = 0x05dc */
อ่านหลักเกณฑ์การตั้งค่า VID/PID เพิ่มเติมได้จากหัวข้อ #เกี่ยวกับหมายเลข VID/PID
  • Vendor Name: กำหนดค่า USB Vendor Name ให้เป็น cpe.ku.ac.th โดยเปลี่ยนนิยามของมาโคร USB_CFG_VENDOR_NAME และ USB_CFG_VENDOR_NAME_LEN ดังนี้
#define USB_CFG_VENDOR_NAME     'c','p','e','.','k','u','.','a','c','.','t','h'
#define USB_CFG_VENDOR_NAME_LEN 12
  • Device Name: กำหนดค่า USB Device Name ให้เป็น ID <รหัสนิสิต> โดยเปลี่ยนนิยามของมาโคร USB_CFG_DEVICE_NAME และ USB_CFG_DEVICE_NAME_LEN ตัวอย่างเช่นนิสิตที่มีรหัสประจำตัว 1234567890 ให้แก้ไขมาโครดังนี้
#define USB_CFG_DEVICE_NAME     'I','D',' ','1','2','3','4','5','6','7','8','9','0'
#define USB_CFG_DEVICE_NAME_LEN 13

เฟิร์มแวร์ฝั่งอุปกรณ์

  • เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการเขียนโปรแกรม เราจะนิยามคำร้องขอเหล่านี้ไว้ที่ส่วนหัวของ main.c ดังนี้
#define RQ_SET_LED         0
#define RQ_SET_LED_VALUE   1
#define RQ_GET_SWITCH      2
#define RQ_GET_LIGHT       3
  • ภายในฟังก์ชัน usbFunctionSetup สร้างโค้ดสำหรับประมวลผลคำร้องขอที่รับมาจากโฮสท์ดังนี้
usbMsgLen_t usbFunctionSetup(uint8_t data[8])
{
    usbRequest_t *rq = (usbRequest_t*)data;
    static uint8_t switch_state;  /* เป็น static เพื่อค่าในตัวแปรคงอยู่แม้ฟังก์ชัน return ไปแล้ว */

    /* ประมวลผลตามหมายเลขคำสั่งที่อยู่ใน bRequest */
    if (rq->bRequest == RQ_SET_LED)
    {
        uint8_t led_val = rq->wValue.bytes[0];
        uint8_t led_no  = rq->wIndex.bytes[0];

        if (led_val)
            PORTC |= (1<<led_no);
        else
            PORTC &= ~(1<<led_no);

        return 0; /* ไม่ส่งข้อมูลกลับ */
    }

    else if (rq->bRequest == RQ_GET_SWITCH)
    {
        if ((PINC & (1<<PC3)) == 0) /* switch is pressed */
            switch_state = 1;
        else
            switch_state = 0;

        /* ให้ usbMsgPtr ชี้ไปที่ตำแหน่งหน่วยความจำที่เก็บข้อมูล */
        usbMsgPtr = (uchar*) &switch_state;

        /* ส่งข้อมูลกลับ 1 ไบท์ (เท่ากับขนาดของตัวแปร switch_state) */
        return sizeof(switch_state);
    }

    return 0;   /* ไม่รู้จักคำร้องขอ ไม่ส่งข้อมูลกลับ */
}
  • คอมไพล์เฟิร์มแวร์และอัพโหลดเข้าแฟลชของไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งหากได้สร้าง Makefile ตามที่อธิบายไว้ข้างต้นไว้เรียบร้อยแล้ว ให้เสียบบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์เข้ากับพอร์ท USB กดสวิตช์เพื่อเข้าสู่ Bootloader แล้วพิมพ์คำสั่ง
make flash

แอพลิเคชันฝั่งโฮสท์

ขณะที่เฟิร์มแวร์ทำงานอยู่นั้นเราจะมองไม่เห็นผลลัพธ์การทำงานใด ๆ เนื่องจากเฟิร์มแวร์ถูกเขียนไว้ให้ตอบสนองต่อการสั่งงานผ่านคอมพิวเตอร์เท่านั้น ภายในไฟล์ตัวอย่างมีไฟล์ชื่อ practicum.py ซึ่งเป็นโมดูลไพทอนที่เราจะนำมาใช้ติดต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ผ่านภาษาไพทอน ทดลองเปิดไพทอนเชลล์แล้วโหลดโมดูลมาใช้งาน โดยฟังก์ชันหลักที่เรียกใช้จากโมดูลคือ find_mcu_boards() ซึ่งคืนค่าเป็นลิสต์ของอุปกรณ์ USB ทุกตัวที่มี VID/PID เป็น 16c0:05dc ที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ ณ ขณะนั้น

$ python
>>> from practicum import find_mcu_boards,McuBoard
>>> devices = find_mcu_boards()
>>> devices
[<usb.Device object at 0xd91d70>]

จากนั้นสร้างอ็อบเจกต์ของคลาส McuBoard ขึ้นมาจากอุปกรณ์ตัวแรกในลิสต์

>>> mcu = McuBoard(devices[0])
>>> mcu.handle.getString(mcu.device.iManufacturer, 256)
'cpe.ku.ac.th'
>>> mcu.handle.getString(mcu.device.iProduct, 256)
'ID 1234567890'  <- ต้องขึ้นเป็นรหัสนิสิตของตน

ทดลองส่งคำร้องขอหมายเลข 0 (ควบคุมสถานะ LED) เพื่อให้ LED หมายเลข 2 บนบอร์ดพ่วงติดสว่าง ใช้เมท็อต usb_write ในคลาส McuBoard ดังนี้

>>> mcu.usb_write(0, index=2, value=1)

คำสั่งด้านล่างมีผลทำให้ LED หมายเลข 2 ดับ และ LED หมายเลข 1 ติดขึ้นมาแทน

>>> mcu.usb_write(0, index=2, value=0)
>>> mcu.usb_write(0, index=1, value=1)

ทดลองอ่านสถานะของสวิตช์โดยส่งคำร้องหมายเลข 2 ไปยังบอร์ด MCU

>>> mcu.usb_read(2, length=1)
array('B', [0])

ค่าที่เมทอด usb_read คืนกลับมาจะเป็นทูเปิลที่มีสมาชิกหนึ่งตัว ตามที่ระบุในเฟิร์มแวร์

ทดลองกดสวิตช์บนบอร์ดพ่วงค้างไว้ แล้วส่งคำร้องไปยังบอร์ด MCU ใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้ควรเป็นดังนี้

>>> mcu.usb_read(2, length=1)
array('B', [1])

ใช้คำสั่ง help เพื่อดูรายละเอียดการใช้งานคลาส McuBoard

>>> help(McuBoard)

เกี่ยวกับหมายเลข VID/PID

ชุดตัวเลข VID/PID ที่กำหนดให้กับอุปกรณ์ USB ไม่ควรตั้งเอาเองตามใจชอบเนื่องจากระบบปฏิบัติการจะอาศัยตัวเลขคู่นี้ในการเลือกซอฟต์แวร์ไดรเวอร์ที่จะมาควบคุมอุปกรณ์ โดยทั่วไปการจะได้มาซึ่งเลข VID/PID เพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่เราสร้างขึ้นจำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกของ USB Implementers Forum (ค่าสมาชิกปีละ 4,000 เหรียญสหรัฐ) หรือซื้อตัวเลข VID มาจากผู้ที่เป็นสมาชิกอีกทีหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม Object Development ผู้พัฒนาไลบรารี V-USB ได้เตรียมชุดตัวเลข VID/PID ไว้ให้เราใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หมายเลข 16C0:xxxx ที่เราเลือกนำมาใช้งานก็ได้มาจากตัวเลขในชุดดังกล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดค่า VID และ PID ให้กับอุปกรณ์ USB รวมถึงหลักเกณฑ์การปฏิบัติในการผลิตอุปกรณ์ USB สู่สาธารณะ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาในไฟล์ USB-ID-FAQ.txt และไฟล์ USB-IDs-for-free.txt ในไดเรคตอรี usbdrv ที่ได้จากการติดตั้งไลบรารี V-USB รวมถึงเอกสาร How to obtain an USB VID/PID for your project

ข้อมูลเพิ่มเติม