ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Psl/ลิงก์ลิสต์"
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 123: | แถว 123: | ||
== ลิสต์แบบสองทาง (doubly linked lists) == | == ลิสต์แบบสองทาง (doubly linked lists) == | ||
− | อ่านที่วิกิพีเดีย: [http://en.wikipedia.org/wiki/Doubly_linked_list] | + | : อ่านที่วิกิพีเดีย: [http://en.wikipedia.org/wiki/Doubly_linked_list] |
+ | |||
+ | การประกาศก็จะไม่ต่างจากลิงก์ลิสต์ธรรมดานัก | ||
+ | |||
+ | <syntaxhighlight lang="cpp"> | ||
+ | struct ListNode { | ||
+ | int value; | ||
+ | ListNode* next; | ||
+ | ListNode* prev; | ||
+ | |||
+ | ListNode(int v, ListNode* n=0, ListNode* p=0) | ||
+ | :value(v), next(n), prev(p) | ||
+ | {} | ||
+ | }; | ||
+ | </syntaxhighlight> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:48, 26 มกราคม 2558
- หน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของ problem solving lab
หน้านี้มีรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการเขียนลิงก์ลิสต์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ วิกิพีเดีย
เนื้อหา
พื้นฐาน
โครงสร้างพื้นฐานของลิงก์ลิสต์คือโหนด ซึ่งโดยมากจะมีข้อมูลสองชุดคือข้อมูลในโหนดนั้นเอง กับพอยน์เตอร์ไปยังโหนดถัดไป
struct ListNode {
int value;
ListNode* next;
};
ตัวอย่างการสร้างลิสต์แบบตรงไปตรงมา
main()
{
ListNode* n1;
ListNode* n2;
n1 = new ListNode;
n2 = new ListNode;
n1->value = 10;
n1->next = n2;
n2->value = 40;
n2->next = 0;
print_list(n1);
delete n1;
delete n2;
}
ใน C++ เราใช้โอเปอร์เรเตอร์ new และ delete ในการสร้างและทำลาย object ในขั้นตอนของการสร้างจะมีการจองหน่วยความจำและกำหนดค่าเริ่มต้น เมื่อเราทำลายด้วย delete จะมีการคืนค่าหน่วยความจำ ถ้าเราเขียนในภาษา C, โดยมากเราจะใช้คำสั่ง malloc ซึ่งจะทำหน้าที่จองหน่วยความจำ และคำสั่ง free ที่คืนหน่วยความจำ
สังเกตว่าเราสามารถเขียน var->field แทน (*var).field ได้
ด้านล่างเป็นตัวอย่างฟังก์ชันที่วิ่งไปในลิสต์เพื่อพิมพ์รายการในลิสต์
void print_list(ListNode* list)
{
while(list != 0) {
printf("%d\n", list->value);
list = list->next;
}
}
โหนดฉบับปรับปรุง
ใน C++ การประกาศ struct ก็เปรียบเสมือนการประกาศคลาสที่ข้อมูลภายในเป็น public ทั้งหมด ในหลาย ๆ กรณี เราสามารถเพิ่ม constructor เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานได้ ดังด้านล่าง
struct ListNode {
int value;
ListNode* next;
ListNode(int v, ListNode* n)
{
value = v;
next = n;
}
};
เมื่อเราสั่ง
ListNode* n = new ListNode(100,0);
ก็จะเหมือนกับการเรียก constructor ดังกล่าว
สังเกตเพิ่มเติมว่าจริง ๆ แล้วในการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับ value และ next นั้น ก็เป็นเหมือนการเรียก constructor ให้กับ data member ทั้งสอง ดังนั้นเราเขียนให้ชัดเจนได้เป็น
struct ListNode {
int value;
ListNode* next;
ListNode(int v, ListNode* n=0)
:value(v), next(n)
{}
};
นอกจากนี้เรายังกำหนด default parameter ได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น n ในโค้ดด้านบน ถ้าเขียนแบบนี้ เราสามารถสั่ง
ListNode* header = new ListNode(0);
ได้เลย โดยในกรณีนี้ header->next จะมีค่าเป็น 0
ลิงก์ลิสต์แบบมีหัว (header)
การเพิ่มข้อมูลเข้าไปด้านหลังโหนดใด ๆ ในลิงก์ลิสต์ทำได้โดยง่าย
สมมติว่าเรามีพอยน์เตอร์ p ที่ชี้ไปยังโหนด และต้องการเพิ่มโหนดที่เก็บค่า 100 ต่อจาก p เราทำได้ดังนี้
ListNode* new_node = new ListNode(100);
new_node->next = p->next;
p->next = new_node;
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราต้องการแทรกข้อมูลไว้ที่ต้นลิสต์ เราจะทำไม่ได้โดยง่าย วิธีการมาตรฐานที่นิยมใช้กันเพื่อแก้ปัญหานี้ก็คือการสร้าง dummy header ไว้ที่ต้นลิสต์ ทำให้แทรกข้อมูลที่ตอนหัวได้
โค้ดทั่ว ๆ ไปจะเป็นดังนี้
// ประกาศหัวเปล่า
ListNode* header = new ListNode(0);
// แทรกข้อมูลเข้าที่หัว
ListNode* new_node = new ListNode(100);
new_node->next = header->next;
header->next = new_node;
การอ้างถึงข้อมูลจากตอนต้นรายการนั้นในบางครั้งอาจจะไม่สะดวกและไม่มีประสิทธิภาพเท่าใดนัก โดยเฉพาะกรณีที่เราต้องการเก็บข้อมูลจากตอนท้ายลิสต์ด้วย เช่น ต้องการให้มีการเพิ่มข้อมูลต่อท้ายรายการ ดังนั้น เรามักจะเก็บพอยน์เตอร์ tail ควบคู่ไปกับ header โดยพอยน์เตอร์นี้จะชี้ไปที่ข้อมูลตัวสุดท้ายในรายการ เพื่อทำให้เราแทรกข้อมูลต่อท้ายรายการได้ง่าย
ลิสต์แบบสองทาง (doubly linked lists)
- อ่านที่วิกิพีเดีย: [1]
การประกาศก็จะไม่ต่างจากลิงก์ลิสต์ธรรมดานัก
struct ListNode {
int value;
ListNode* next;
ListNode* prev;
ListNode(int v, ListNode* n=0, ListNode* p=0)
:value(v), next(n), prev(p)
{}
};