Prg2/arcade3 snake
- หน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของ oop lab
จุดวิ่ง
ในส่วนแรกเราจะทำงูขนาด 1 ช่องวิ่งไปมาก่อน
เริ่มด้วยเกมว่าง ๆ
เราจะเริ่มโดยสร้างคลาส SnakeWindow ว่าง ๆ ไว้ก่อน ทั้งหมดนี้เขียนในไฟล์ snake.py
import arcade
SCREEN_WIDTH = 600
SCREEN_HEIGHT = 600
class SnakeWindow(arcade.Window):
def __init__(self, width, height):
super().__init__(width, height)
arcade.set_background_color(arcade.color.BLACK)
def main():
window = SnakeWindow(SCREEN_WIDTH, SCREEN_HEIGHT)
arcade.set_window(window)
arcade.run()
if __name__ == '__main__':
main()
ทดลองรัน
sprite และ snake
เราจะใช้รูปด้านล่างขนาด 16 x 16 แทนตัวงู
ดาวน์โหลดที่ [1] แล้วเซฟในโพลเดอร์ images ในชื่อ block.png
จากนั้นแก้ SnakeWindow ดังนี้
สร้าง arcade.Sprite ใน __init__
def __init__(self, width, height):
# ... ละบรรทัดอื่นไว้
self.snake_sprite = arcade.Sprite('images/block.png')
self.snake_sprite.set_position(300,300)
และสร้างเมท็อด on_draw มาวาด sprite
def on_draw(self):
arcade.start_render()
self.snake_sprite.draw()
ทดลองรัน
ทดลองรัน
********************************* CHECK POINT 3.1 *******************************
World, Snake, และ ModelSprite
เราจะแยกโครงสร้างของคลาสในเกมแบบเดียวกับเกม space นั่นคือเราจะมี World เพื่อเก็บข้อมูลของเกมทั้งหมด คลาสงู (Snake) จะอยู่ใน world ส่วนที่แสดงผล ในขั้นแรกนี้เราจะใช้วิธีแบบเดิมคือจะสร้าง ModelSprite เพื่อแสดงงู แต่อีกหน่อยถ้างูยาวขึ้นได้เราจะใช้วิธีอื่น (แต่ ModelSprite ก็ยังจะมีประโยชน์อยู่ในการแสดงผลไม้)
ในส่วนนี้เราจะตัดและแก้จากโค้ด space เลย นิสิตควรจะพิจารณาโค้ดทั้งหมดและพยายามทำความเข้าใจว่าแต่ละส่วนทำงานประสานกันได้อย่างไรก่อนจะทำขั้นถัดไป
ไฟล์ models.py
class Snake:
def __init__(self, world, x, y):
self.world = world
self.x = x
self.y = y
def update(self, delta):
if self.x > self.world.width:
self.x = 0
self.x += 5
class World:
def __init__(self, width, height):
self.width = width
self.height = height
self.snake = Snake(self, width // 2, height // 2)
def update(self, delta):
self.snake.update(delta)
เราจะใช้คลาส World ใน snake.py ดังนั้นต้องไป import ก่อน โดยเพิ่มบรรทัดต่อไปนี้ในตอนต้นไฟล์ snake
from models import World
คลาส ModelSprite ใน snake.py ใส่ไว้ก่อน SnakeWindow
class ModelSprite(arcade.Sprite):
def __init__(self, *args, **kwargs):
self.model = kwargs.pop('model', None)
super().__init__(*args, **kwargs)
def sync_with_model(self):
if self.model:
self.set_position(self.model.x, self.model.y)
def draw(self):
self.sync_with_model()
super().draw()
คลาส SnakeWindow ใน snake.py ที่แก้ไขแล้ว
class SnakeWindow(arcade.Window):
def __init__(self, width, height):
super().__init__(width, height)
arcade.set_background_color(arcade.color.BLACK)
self.world = World(SCREEN_WIDTH, SCREEN_HEIGHT)
self.snake_sprite = ModelSprite('images/block.png',
model=self.world.snake)
self.snake_sprite.set_position(300,300)
def update(self, delta):
self.world.update(delta)
def on_draw(self):
arcade.start_render()
self.snake_sprite.draw()
ทดลองรัน
ถ้าพบว่างูวิ่งเร็วมาก แปลว่าทำงานได้
********************************* CHECK POINT 3.2 *******************************
วิ่งเป็นจังหวะ
เราจะแก้ให้งูค่อย ๆ ขยับเป็นจังหวะ แนวคิดหลัก ๆ คือเราจะสะสมเวลา delta (ซึ่งเป็นเวลาระหว่างการเรียก update แต่ละครั้ง) ไว้จนเกินค่าหนึ่ง แล้วจึงค่อยขยับ เราจะเก็บค่าเวลาที่จะรอไว้ในตัวแปร MOVE_WAIT สังเกตว่าเราจะใช้เป็นตัวใหญ่เพื่อระบุว่าเป็นค่าคงที่ ถ้าอีกหน่อยเราต้องการให้เกมปรับความเร็วได้ เราค่อยแก้ไขส่วนนี้ต่อไป
เราจะประกาศไว้ในคลาส Snake
class Snake:
MOVE_WAIT = 0.2
ตัวแปรที่ประกาศลักษณะนี้จะเป็นตัวแปรที่ติดกับคลาส จะอ้างได้โดยเรียก Snake.MOVE_WAIT หรือจะเรียกผ่านวัตถุของคลาสก็ได้ แต่ถ้ามีการกำหนดค่าจากวัตถุของคลาส ค่านั้นจะไป "แทน" ค่าของคลาส
เราจะเก็บค่าเวลารอใน self.wait_time ซึ่งกำหนดค่าเริ่มต้นเป็น 0 ใน __init__
def __init__(self, world, x, y):
# ละตอนต้นไว้
self.wait_time = 0
เราจะตรวจสอบค่านี้ในเมท็อด update ดังด้านล่าง สังเกตว่าเราแก้ให้งูขยับทีละ 16 จุด (เท่ากับขนาดช่อง)
def update(self, delta):
self.wait_time += delta
if self.wait_time < Snake.MOVE_WAIT:
return
if self.x > self.world.width:
self.x = 0
self.x += 16
self.wait_time = 0
ทดลองรัน
ถ้าทำงานได้ อย่าลืม
********************************* CHECK POINT 3.3 *******************************
บังคับทิศทาง
เราจะเพิ่มค่าคงที่สำหรับจัดการทิศทางไว้ตอนต้นของ models.py
DIR_UP = 1
DIR_RIGHT = 2
DIR_DOWN = 3
DIR_LEFT = 4
DIR_OFFSET = { DIR_UP: (0,1),
DIR_RIGHT: (1,0),
DIR_DOWN: (0,-1),
DIR_LEFT: (-1,0) }
ในคลาส Snake เราจะเพิ่ม attribute direction ไว้เก็บทิศทาง โดยให้เริ่มที่เคลื่อนที่ไปทางขวา
class Snake:
# ... ละส่วนอื่นไว้
def __init__(self, world, x, y):
# ... ละส่วนอื่นไว้
self.direction = DIR_RIGHT
เพื่อให้ไม่ต้องเขียนเลขพิเศษ 16 ในโค้ด เราจะประกาศค่าคงที่ขนาด block ของงูไว้ที่ตอนต้นคลาส Snake ด้วย
class Snake:
BLOCK_SIZE = 16
# ... ละส่วนอื่นไว้
จากนั้นใน update ให้แก้ให้ปรับพิกัด x และ y ตามทิศทาง
def update(self, delta):
self.wait_time += delta
if self.wait_time < Snake.MOVE_WAIT:
return
# เพิ่มโค้ดปรับค่า self.x และ self.y ที่นี่ ให้ใช้ DIR_OFFSET อย่าเขียนโดยใช้ if
self.x ...................................
self.y ...................................
self.wait_time = 0
ให้ทดลองรันว่างูขยับทางขวาหรือไม่ ถ้าได้ให้ลองเปลี่ยนทิศเริ่มต้นของงู (self.direction) ให้เป็นค่าต่าง ๆ เพื่อทดสอบว่าโค้ดที่เขียนถูกต้อง อย่าลืมว่าให้ขยับทีละ Snake.BLOCK_SIZE จุด
ทดลองรัน
จัดการกับการกดปุ่ม
ใน SnakeWindow เพิ่มเมทอด on_key_press ดังนี้
# ... ใน SnakeWindow
def on_key_press(self, key, key_modifiers):
self.world.on_key_press(key, key_modifiers)
จากนั้นใน models.py ให้เพิ่มบรรทัดด้านล่างตอนต้น
import arcade.key
เพื่อนำเข้าค่าคงที่ของปุ่มกด แล้วให้เขียนเมทอด on_key_press ใน World ให้ปรับทิศของงูตามปุ่มที่กด
class World:
# ... ละส่วนอื่นไว้
def on_key_press(self, key, key_modifiers):
# เพิ่มโค้ดตรวจสอบปุ่มและเปลี่ยนทิศทางของ self.snake
ในการเปลี่ยนทิศทาง ให้แก้ attr direction ใน self.snake โดยตรงไปก่อนเลย วิธีนี้อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในทุกกรณี แต่กรณีนี้ทำได้สะดวกและไม่น่ามีปัญหาอะไร
นอกจากนี้ในการเขียน ถ้าเป็นไปได้ ให้พยายามเขียนโดยไม่ใช้ if แต่ใช้ dict เหมือนตัวอย่างทิศทางข้างต้น แต่ถ้าจะ if ก็ไม่เป็นไร สังเกตว่าเมื่อกดเปลี่ยนทิศแล้ว งูจะวิ่งทิศทางดังกล่าวไปตลอด
ทดลองรัน
ถ้าทำงานได้ อย่าลืม
********************************* CHECK POINT 3.4 *******************************
งูที่ยาวขึ้น
ตัวงู
เราจะเพิ่มข้อมูลใน snake ให้เก็บตำแหน่งของตัวงู ส่วน self.x และ self.y ยังเป็นพิกัดของหัวอยู่ ส่วนตัวของงูทั้งหมด (รวมหัวด้วย) จะอยู่ในรายการ self.body เราจะทดลองโดยให้ตัวของงูอยู่กับที่ก่อน เราจะทดลองงูที่ยาวสาม block
def __init__(self, world, x, y):
self.world = world
self.x = x
self.y = y
self.body = [(x,y),
(x-Snake.BLOCK_SIZE, y),
(x-2*Snake.BLOCK_SIZE, y)]
self.length = 3
# .... บรรทัดอื่นละไว้
ลักษณะการเก็บข้อมุลใน body และ x,y จะแสดงดังรูป
เราจะปรับค่าของ body ในส่วนถัด ๆ ไป
SnakeSprite
เราจะสร้างคลาสใหม่เพื่อจัดการวาดรูปงูที่มีหลาย block อย่างไรก็ตาม เราจะไม่ได้สร้างคลาสที่ inherit มาจาก Sprite โดยตรง แต่จะเป็นคลาสที่มี sprite รูปเหลี่ยม และใช้ sprite นั้นวาดรูปตัวงู
ให้เพิ่มคลาสด้านล่าง (คลาส ModelSprite ให้เก็บไว้ก่อน) และเขียนเมท็อด draw ให้เรียบร้อย
class SnakeSprite:
def __init__(self, snake):
self.snake = snake
self.block_sprite = arcade.Sprite('images/block.png')
def draw(self):
for x,y in self.snake.body:
# เพิ่มโค้ดที่วาด self.block_sprite ลงตำแหน่ง (x,y) หลักๆ คือให้ set_position ก่อน แล้วค่อย draw
_________________________________________
_________________________________________
แล้วให้แก้บรรทัดที่สร้าง snake_sprite ใน SnakeWindow ให้เป็นดังนี้
class SnakeWindow(arcade.Window):
# ....
def __init__(self, width, height):
# ... ละบรรทัดอื่นไว้
# แก้บรรทัดที่สร้าง snake_sprite ให้เป็นดังนี้
self.snake_sprite = SnakeSprite(self.world.snake)
ทดลองรัน
ทดลองรัน จะเห็นงูความยาวสามบนจอ (ที่ไม่ขยับ) และ
แก้โค้ด snake ให้ปรับลิสต์ self.body
หลังปรับตำแหน่งของหัวงูใน update จะต้องปรับค่าในลิสต์ self.body ด้วยเพื่อให้แสดงงูได้ถูกต้อง
def update(self, delta):
self.wait_time += delta
if self.wait_time < Snake.MOVE_WAIT:
return
# ส่วนนี้มาจากที่เติมเองด้านบน
self.x .....................................................
self.y .....................................................
self.wait_time = 0
# .... เพิ่มโค้ดปรับ self.body ตรงนี้ โดยเอา (self.x, self.y) ไปไว้หน้าลิสต์ แล้วก็ลบตัวสุดท้ายออก
___________________________________________
___________________________________________
___________________________________________
ทดลองรัน
ทดลองรัน จะเห็นงูความยาวสามบนจอที่บังคับไปมาได้ ถ้าโอเคแล้วให้
กินอาหาร
โมเดล Heart
เราจะเพิมคลาส Heart ใน models.py ที่จะเก็บตำแหน่งของหัวใจ
เราจะสุ่มตัวเลขด้วยฟังก์ชัน randint ในโมดูล random ดังนันที่หัวไฟล์ models.py ให้เพิ่มบรรทัด import ด้านล่างนี้ด้วย
from random import randint
คลาสดังกล่าวจะมีเมทอด random_position เพื่อสุ่มตำแหน่ง เนื่องจากเราต้องการสุ่มให้ตำแหน่งตรงกับ block ของงู เราต้องคูณค่าด้วย Snake.BLOCK_SIZE ด้วย เพิ่มโค้ดของคลาสนี้ก่อน World
class Heart:
def __init__(self, world):
self.world = world
self.x = 0
self.y = 0
def random_position(self):
centerx = self.world.width // 2
centery = self.world.height // 2
self.x = centerx + randint(-15,15) * Snake.BLOCK_SIZE
self.y = centerx + randint(-15,15) * Snake.BLOCK_SIZE
สร้าง self.heart ใน World ด้วย
class World:
def __init__(self, width, height):
# ... ละบรรทัดก่อนหน้า
self.heart = Heart(self)
self.heart.random_position()
เชื่อมกับ sprite
เราจะใช้รูปหัวใจด้านล่างนี้
สามารถโหลดได้ที่ [2] เซพรูปดังกล่าวเป็น images/heart.png
ในการแสดงผล ให้แก้ snake.py ให้สร้าง heart_sprite และวาดรูป sprite ดังกล่าวใน on_draw
class SnakeWindow(arcade.Window):
def __init__(self, width, height):
# ... ละไว้
# เพิ่มโค้ดสร้าง ModelSprite สำหรับ self.heart_sprite ที่นี่ อย่าลืมเชื่อมกับ self.world.heart
__________________________________________________________
__________________________________________________________
อย่าลืมสั่งให้ดวาดรูป sprite ดังกล่าวใน on_draw ด้วย
def on_draw(self):
# ... ละไว้
# เพิ่มโค้ดสั่งให้ self.heart_sprite วาด
__________________________________________________________
__________________________________________________________
ทดลองรัน
ทดลองรันหลาย ๆ รอบ ถ้าเห็นหัวใจย้ายที่ไปมาก็น่าจะใช้ได้
แล้วอย่าลืม...
กินหัวใจ
เราจะให้ snake ตรวจสอบว่ากินหัวใจได้หรือไม่ โดยเพิ่มเมทอด can_eat ในคลาส Snake
class Snake:
# ... ละไว้
def can_eat(self, heart):
# ตรวจสอบพิกัดหัวของงู และพิกัดของ heart คืนค่า True ถ้าตรงกัน
____________________________________________
____________________________________________
จากนั้นเราจะให้ World เป็นคนเรียกตรวจสอบและจัดการให้หัวใจกระโดด
class World:
# ... ละไว้
def update(self, delta):
self.snake.update(delta)
if self.snake.can_eat(self.heart):
self.heart.random_position()
ทดลอง
ถ้าใช้ได้ ให้
บั๊ก
ตอนนี้เนื่องจากเราสุ่มตำแหน่งของหัวโจโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งของงูและตัวของงู เราอาจจะสุ่มหัวใจไปโผล่ตรงกับตัวงูได้
แต่เราจะยังไม่แก้บั๊กนี้ตอนนี้ (ถ้านิสิตสนใจจะแก้ก็ได้ครับ ไม่เป็นไร)
งูยาวขึ้น
เราจะเพิ่มสถานะให้กับ snake ว่าเพิ่งจะได้กินอาหารไป
class Snake:
# .. ละไว้
def __init__(self, world, x, y):
# .. ละไว้
self.has_eaten = False
ในเมทอด update ของ World ที่ตรวจสอบการกิน เราจะปรับสถานะนี้ถ้า snake กินได้
class World:
# .. ละไว้
def update(self, delta):
self.snake.update(delta)
if self.snake.can_eat(self.heart):
self.heart.random_position()
self.snake.has_eaten = True # ... เพิ่มบรรทัดนี้
แก้ update ใน Snake ปรับค่า body ให้ถูกต้อง
งานหลักของเราจะอยู่ที่การปรับเมทอด update ให้ทำงานให้ถูกต้อง อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเมท็อดต่าง ๆ ของลิสต์ได้ที่นี่
class Snake:
# .. ละไว้
def update(self, delta):
# .. ละไว้
# ส่วนนี้มาจากที่เติมเองด้านบน
self.x .........................................................
self.y .........................................................
# ตรวจสอบ self.has_eaten และปรับรายการ self.body และ self.length ให้ถูกต้อง ถ้าไม่ได้มีการกิน ก็ทำงานแบบเดิม
# อย่าลืมจัดการเรื่องปรับสถานะ self.has_eaten หลังการกินด้วย
___________________________________________
___________________________________________
___________________________________________
___________________________________________
___________________________________________
___________________________________________
ทดลอง
ถ้าเล่นได้ อย่าลืม
การแก้ไขอื่น ๆ
เมทอด update ใน Snake ค่อนข้างยาว ควรพยายามแยกออกเป็นฟังก์ชันย่อย
แบบฝึกหัด
ตรวจการกินตัวเอง
ตอนนี้งูยังขยับไปกินตัวเองได้ อย่าลืมเพิ่มโค้ดที่ตรวจจับสถานการณ์ดังกล่าวด้วย
เล่นหลายคน
ด้วยโค้ดที่เรามี การแก้ให้เล่นได้สองคนไม่ใช่เรื่องยากเลย