Psl/binary search trees
ในส่วนนี้เราจะหัดใช้โครงสร้างข้อมูลแบบ binary search tree
Bst เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นอกจากจะรองรับการค้นหาด้วย key แล้ว ยังสามารถตอบคำถามว่า key ใดมีค่า "ก่อนหน้า" key ที่เราค้นหาได้ด้วย (predecessor search) ลักษณะนี้จะอาจจะทำไม่ได้ในโครงสร้างข้อมูลที่รองรับการค้นด้วย key อย่างเดียว เช่น hash table
อ่านพื้นฐานและดูตัวอย่างของ bst ได้ที่ลิงก์ต่อไปนี้
เนื้อหา
มาเขียนกัน!
ส่วนพื้นฐานของโครงสร้างข้อมูลดังกล่าวคือ tree node ซึ่งจะประกอบด้วยที่สำหรับเก็บ key และ/หรือข้อมูล, และ pointer สองอันที่ชี้ไปยังโหนดลูกด้านซ้ายและด้านขวา นิยามได้ดังนี้
struct Node {
int val;
Node* left;
Node* right;
Node(int v, Node* l=0, Node* r=0)
: val(v), left(l), right(r)
{}
};
การเพิ่มข้อมูลใน bst (ไม่ balanced)
โค้ดด้านล่างแสดงฟังก์ชัน insert ที่เขียนแบบเรียกตัวเอง สังเกตว่าเราใช้การส่งค่าแบบ reference ใน C++ ในการเขียนฟังก์ชันนี้ (เพราะว่าเราต้องการสร้างโหนดใหม่ในกรณีที่เจอโหนดว่าง)
void insert(Node*& root, int x)
{
if(root == 0) {
root = new Node(x);
return;
}
if(x > root->val)
insert(root->right, x);
else if(x < root->val)
insert(root->left, x);
}
ตัวอย่างโปรแกรมหลัก:
main()
{
Node* r = 0;
insert(r,10);
insert(r,30);
insert(r,15);
}
ทดลองคิด 1: ถ้าเราไม่เขียนฟังก์ชัน insert โดยใช้ reference เราจะเขียนอย่างไร?
ทดลองคิด 2: ถ้าเราไม่เขียนฟังก์ชัน insert แบบเรียกตัวเอง เราจะเขียนอย่างไร?
การเก็บข้อมูลเพิ่มใน bst
หลายครั้งที่เราสามารถเก็บข้อมูลเพิ่มที่โหนดใน bst เพื่อลดระยะเวลาการคำนวณต่าง ๆ ได้ ข้อมูลเพิ่มเติมโดยมากจะเป็นข้อมูลที่ รวบรวม มาจากโหนดอื่น ๆ ที่เป็นโหนดลูกหลานของโหนดนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเก็บจำนวนโหนดทั้งหมดที่เป็นลูกหลานของโหนดใด ๆ
struct Node {
// ...
int descendent_count;
// ...
};
ด้วยข้อมูลนี้ เราสามารถคำนวณค่าหลายอย่างได้ เช่น จำนวนข้อมูลที่มีค่ามากกว่าค่าบางค่า โดยใช้เวลาในการคำนวณไม่เกินความลึกของ bst