องค์ประกอบของวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์และการออกแบบวงจร

จาก Theory Wiki
รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:58, 8 กรกฎาคม 2559 โดย Chaiporn (คุย | มีส่วนร่วม) (→‎ลิ้งค์อื่น ๆ)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ส่วนประกอบของวงจร

ส่วนเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟ

  • ใช้เฮดเดอร์ 2x1 เพื่อรับไฟเลี้ยงจากแบตเตอรีภายนอกเพื่อป้อนเข้าสู่ low-dropout voltage regulator เบอร์ NCP1117DT50 (ดูดาต้าชีทจากลิ้งค์ด้านล่าง)
  • ใช้ LED สีแดงแสดงสถานะไฟเลี้ยง (ต่ออนุกรมกับตัวต้านทาน 330 โอห์ม)
  • ใช้ตัวเก็บประจุ 100 nF เป็น decoupling capacitor คร่อม VCC/GND ให้ใกล้กับขาไฟเลี้ยงของไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อลดสัญญาณรบกวนจากวงจรสวิตชิ่ง
  • ไอซี NCP1117DT เป็นแบบ surface-mount ดังนั้นต้องวางอุปกรณ์ไว้ที่ด้านล่างของแผ่นวงจรพิมพ์
  • เชื่อม AVCC (Analog VCC) และ AREF (Analog reference) เข้ากับ VCC
  • เชื่อม AGND (Analog GND) เข้ากับ GND

สวิตช์รีเซ็ต

  • ต่อเข้ากับขา RESET
  • การกดปุ่มมีผลให้ขา RESET มีลอจิก LOW

ส่วนผลิตสัญญาณนาฬิกา

  • ใช้คริสตัล 16 MHz ร่วมกับตัวเก็บประจุ 22pF ต่อเข้ากับขา XTAL1 และ XTAL2 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา
  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากหัวข้อ 9.3 Low power crystal oscillator ของดาต้าชีท ATMega168
  • เนื่องจากคริสตัลสร้างสัญญาณรบกวนค่อนข้างเยอะ จึงไม่ควรเดินลายทองแดงของสัญญาณใด ๆ มาไว้ใกล้เคียงกับอุปกรณ์

ปุ่มและ LED สำหรับผู้ใช้

  • ใช้ LED สีเขียว (อนุกรมกับตัวต้านทาน 330 โอห์ม) ต่อเข้ากับขา GPIO ของไมโครคอนโทรลเลอร์ที่คาดว่าไม่ได้ใช้ในงานอื่น
  • ต่อปุ่มกดเข้ากับขา GPIO ของไมโครคอนโทรลเลอร์ที่คาดว่าไม่ได้ใช้ในงานอื่น

จุดเชื่อมต่อพอร์ตอนุกรม

  • ใช้คอนเน็คเตอร์ 4x1 เชื่อมกับขา VCC, RXD, TXD, GND
  • สามารถใช้เป็นจุดรับไฟเลี้ยง 5V จากภายนอกได้

จุดเชื่อมต่อกับเครื่องโปรแกรมชิป

  • ใช้คอนเน็คเตอร์ 5x2 ขา สร้างจุดเชื่อมต่อสำหรับทำเป็นพอร์ท In-System Programming (ISP) โดยดูการจัดขาสัญญาณได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/In-system_programming

จุดเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก

  • ใช้คอนเน็คเตอร์ 14x1 สองตัวต่อขนาบข้างไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อนำไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หรือวงจรอื่นที่ต้องการ

ดาต้าชีทและแหล่งข้อมูลอื่น ๆ

ดาต้าชีท

ลิ้งค์อื่น ๆ