01204472/การทดลองเกี่ยวกับเวกเตอร์

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
การทดลองนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 01204472

เวกเตอร์และมุม

เรามีข้อมูลสำหรับทดลอง 2 ชุด ดังนี้

  • ชุดที่ 1 มีบทความ 2 กลุ่มคือ กลุ่มของบทความในหมวด Association Football 1236 บทความ และบทความในหมวด Diets อีก 307 บทความ ดาวน์โหลด

เมื่อกระจายแฟ้มข้อมูลออกมา ในนั้นจะมีแฟ้มข้อมูล นามสกุล dat อยู่ โดยแฟ้มมีหมายเลข 1xxxx.dat จะเป็นของกลุ่มแรก และ 2xxxx.dat จะเป็นของกลุ่มที่สอง แต่ละแฟ้มจะเก็บข้อมูลของ 1 เวกเตอร์ ในรูปแบบต่อไปนี้

  • บรรทัดแรกเก็บขนาดของเวกเตอร์
  • บรรทัดที่สองจะเป็นสมาชิกในเวกเตอร์ ไล่ไปทีละตัว สำหรับข้อมูลชุดนี้จะมีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น

ในการจัดการกับเวกเตอร์นั้น numpy มีโครงสร้างข้อมูลแบบ array ที่ทำให้เราสามารถประมวลผลได้ง่าย เราสามารถสร้างอาร์เรย์จากลิสต์ โดยสั่ง

u = array([1,2,3,4])

เราสามารถหา inner product ได้ง่าย และสามารถเรียกฟังก์ชัน norm เพื่อหา Euclidean norm ได้

หมายเหตุ เพื่อความสะดวกอย่าลืม import pylab ก่อน โดยสั่ง from pylab import *

ตัวอย่างโค้ดอ่านข้อมูลจากไฟล์มาใส่ array

def read_vector(filename):
    lines = open(filename).readlines()
    return array([float(s) for s in lines[1].strip().split()])

ส่วนที่วนลูปอ่าน vector 300 เวกเตอร์แรกของแต่ละกลุ่ม

fnums = range(10001,10301) + range(20001,20301)

vectors = {}
for f in fnums:
    vectors[f] = read_vector("%d.dat" % f)

การกระจายของมุม

ในส่วนแรกสำหรับข้อมูลแต่ละชุดเราจะวาดกราฟแสดงการกระจายของมุมที่เวกเตอร์แต่ละเวกเตอร์กระทำกับเวกเตอร์อันใดอันหนึ่ง เพื่อความรวดเร็วอาจจะใช้เวกเตอร์แค่ 300 เวกเตอร์แรกของแต่ละกลุ่มก็ได้

เราจะเลือกเวกเตอร์ในแฟ้ม 10001.dat มาเพื่อเป็นเวกเตอร์หลัก จากนั้นเราจะคำนวณมุมของ กับเวกเตอร์อื่น ๆ โดยให้วาดกราฟแสดงการกระจายของมุมระหว่างเวกเตอร์จากเอกสารในกลุ่มเดียวกัน (ในแฟ้ม 10002.dat - 10301.dat) เพื่อเปรียบเทียบกับเวกเตอร์ที่ได้จากเอกสารอีกกลุ่ม (ในแฟ้ม 20001.dat - 20301.dat)

หมายเหตุ การวาดกราฟแสดงการกระจายสามารถทำได้หลายแบบ โดยอาจจะเขียนเป็น histogram หรือนำข้อมูลมา sort แล้ว plot ตามปกติก็ได้

ให้ลองเปรียบเทียบความแตกต่างที่พบระหว่างเวกเตอร์กลุ่มที่ 1 และ 2 ในข้อมูลทั้งสองชุด

มุมเฉลี่ย

สำหรับข้อมูลแต่ละชุด เราจะคำนวณมุมเฉลี่ยระหว่าง

  • เวกเตอร์ในกลุ่ม 1 กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 1 เอง
  • เวกเตอร์ในกลุ่ม 2 กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 2 เอง
  • เวกเตอร์ในกลุ่ม 1 กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 2

ให้ใช้วิธีการคำนวณมุมโดยคำนวณโดยตรง จากนั้นเปรียบเทียบ "ความแตกต่าง" ของมุมเฉลี่ยทั้ง 3 แบบ ที่ได้จากข้อมูลชุด 1 กับชุดที่ 2

มุมเฉลี่ย: sparse vector

เวกเตอร์ที่เราสนใจมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ ถืงแม้เวกเตอร์จะมีขนาดใหญ่ แต่สมาชิกในเวกเตอร์แทบทั้งหมดคือ 0 ดังนั้น การคำนวณโดยตรงกับเวกเตอร์ประเภทนี้โดยมากจึงกลายเป็นงานสูญเปล่า

ให้เปลี่ยนวิธีการเก็บเวกเตอร์สำหรับการหา inner product โดยแทนที่จะเก็บเป็น array อาจเปลี่ยนเป็นโครงสร้างข้อมูลอื่น (hint: dict หรืออาจจะใช้วิธีอื่น ๆ ก็ได้)

เมื่อเราเปลี่ยนวิธีการเก็บเวกเตอร์ใหม่แล้ว การคำนวณ inner product เพื่อหามุมอาจจะต้องเปลี่ยนไปด้วย ให้แก้โปรแกรม จากนั้นให้คำนวณมุมเฉลี่ยใหม่อีกครั้งและเปรียบเทียบเวลาที่ใช้กับเวลาที่ใช้เมื่อเราคำนวณโดยตรง

หมายเหตุ ในข้อนี้ถ้าใครอยากนึกสนุก สามารถลองเขียนเทียบเวลาการคำนวณเมื่อใช้ภาษาอื่น ๆ ที่เร็วกว่าได้ เช่น C++, Java, หรือ C#

Perceptron

ในข้อนี้เราจะต้องพล็อตกราฟแบบจุด ดูตัวอย่างการใช้งานและโปรแกรมสำหรับพล็อตอย่างง่าย ได้จากตอนท้ายของหน้า 01204472/ตัวอย่าง_matplotlib

เรามีข้อมูลสำหรับทดลอง 4 ชุด ในแฟ้ม p1.txt, p2.txt, p3.txt, และ p4.txt เข้าไปดาวน์โหลดที่นี่ นิสิตสามารถโหลดมาแล้วพล็อตดูข้อมูลก่อนโดยใช้ตัวอย่างโปรแกรมจากหน้า 01204472/ตัวอย่าง_matplotlib ได้

เมื่อลองพล็อตดูแล้ว ให้นิสิตลองพิจารณาว่า function ที่จะแบ่งข้อมูลทั้งสองกลุ่มออกจากการควรจะมีลักษณะอย่างใด

ทดลองอัลกอริทึม perceptron

ในส่วนนี้เราจะทดลอง implement อัลกอริทึม Perceptron

แม้ว่าอัลกอริทึมดังกล่าวจะเป็นอัลกอริทึมแบบออนไลน์ แต่เราจะทดลองกับข้อมูลทั้ง 4 ชุดแบบ batch กล่าวคือ

  • เราจะใช้อัลกอริทึมดังกล่าวในการหาเวกเตอร์ ที่ inner product ของ กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 1 มีค่าไม่เป็นลบ แต่ inner product ของ กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 2 มีค่าเป็นลบ
  • ในการหาเวกเตอร์ เราจะใส่ข้อมูลทุกตัวในแฟ้มข้อมูลให้กับ Perceptron algorithm เป็นรอบ ๆ จนครบ
  • ในแต่ละรอบ ให้นับจำนวนครั้งที่อัลกอริทึมทำนายพลาด เพื่อดูประสิทธิภาพของเวกเตอร์ กับข้อมูลตัวอย่าง
  • ทดลอง 10 รอบ หรือจนกว่าจะตอบได้ถูกหมด (ซึ่งหลังจากนั้นจะไม่มีการปรับค่า)

ในการ implement นั้น ให้เขียนโปรแกรมที่ทำงานกับเวกเตอร์ทั่วไปได้ (แม้ว่าตัวอย่างจะเป็นเวกเตอร์ที่มีขนาด 2 ก็ตาม เพราะว่าในข้อถัดไปเราจะปรับแต่งเวกเตอร์เล็กน้อย)

สำหรับข้อมูลแต่ละชุด พล็อตข้อมูล พร้อมทั้งวาดเวกเตอร์ และเวกเตอร์ที่ตั้งฉากกับ ดังตัวอย่างด้านล่าง

Perceptron-w-vectors.png

หมายเหตุในการเขียน:

  • ถ้าต้องการใช้ array เพื่อจัดเก็บเวกเตอร์ สามารถสั่ง from numpy import *
  • เวกเตอร์ในรูปแสดงโดยใช้ฟังก์ชัน plot อย่างไรก็ตามในหลายข้อ เวกเตอร์ที่ได้มีขนาดใหญ่มาก อาจจำเป็นต้อง scale เวกเตอร์ก่อน
  • ถ้าต้องการใช้ฟังก์ชัน norm เพื่อหา Euclidean norm ของเวกเตอร์ สามารถสั่ง from numpy.linalg import *
  • ถ้าต้องการลากเส้นแกน ลองสั่งคำสั่ง plt.axhline() และ plt.axvline() ได้ คำสั่งทั้งสองปรับสีได้ด้วยถ้าเพิ่มพารามิเตอร์เช่น c='gray' เข้าไป

Affine function

ถ้าเราพิจารณาข้อมูลชุดที่ 3 และ 4 เราจะพบว่า เราสามารถขีดเส้นตรงแบ่งข้อมูลเป็นสองกลุ่มได้ แต่ฟังก์ชันของเส้นทั้งสองนั้นไม่ใช่ฟังก์ชันเชิงเส้น แต่เป็น affine function

เรายังสามารถปรับให้อัลกอริทึม Perceptron ทำงานในกรณีดังกล่าวได้ โดยเพิ่มขนาดให้กับเวกเตอร์ที่เราสนใจทั้งหมด จาก 2 เป็น 3 โดยสำหรับเวกเตอร์ข้อมูลตัวอย่าง เราจะเพิ่ม 1 เป็นสมาชิกตัวที่ 3 เช่น จากจุด (10,2) เราจะใช้เป็นจุด (1,2,1) และเวกเตอร์ เราก็จะให้มีขนาดเป็น 3 ด้วยเช่นกัน

ปรับโปรแกรมตามที่ระบุข้างต้นและทดลอง โดยในตัวอย่างที่ 3 และ 4 อาจจะต้องทดลองโดยเพิ่มจำนวนรอบที่มากหน่อย (ไม่เกิน 100 รอบ) ก็จะสามารถหาเวกเตอร์ ได้

ให้พยายามอธิบายว่าทำไมการแก้ไขดังกล่าวจึงทำให้ Perceptron ทำงานได้ในกรณีที่เส้นแบ่งเป็น affine function

หมายเหตุ อาจจะทดลองพล็อตแบบสามมิติเพื่อดูตำแหน่งของจุดและทิศทางของเวกเตอร์ ก็ได้